นาฬิกายามคืออะไร
นาฬิกายามคืออะไร?? หลายคนอาจยังไม่รู้จักอุปกรณ์นี้
ในปัจจุบันธุรกิจกลุ่มธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่พักอาศัย หมู่บ้าน คอนโดมิเนี่ยม ห้องชุดหรือแม้แต่ออฟฟิศที่ทำงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า สนามบิน หรือแม้กระทั่งองค์กรต่าง ๆ กำลังเป็นที่จับตามองด้วยอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูง ประชากรวัยทำงานอย่างเรา ๆ ต้องการความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องการที่พักอาศัย ที่ทำงาน ที่สะดวกสบายและปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของท่าน ในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยของกลุ่มคนดังกล่าว ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการใช้บริการว่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเข้ามาตรวจตราดูแลทรัพย์สินตรงส่วนนี้ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยที่เราจ้างมาจะทำงานได้อย่างเข้มงวดไม่แอบหลับในเวลาปฏิบัติงาน จึงได้มีการนำนวัตกรรมนาฬิกายามดิจิตอล (Guardscan) เข้ามาเป็นเครื่องมือคอยตรวจสอบเจ้าหน้าที่เหล่านี้
นาฬิกายามคืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของรปภ.ว่าได้เดินตรวจตราตามสถานที่ ๆ ได้กำหนดไว้หรือไม่ โดยหลักการทำงานของนาฬิกายามนั้นใช้ระบบคลื่นความถี่ RFID 125KHZ (Radio Frequency Identification) เพียงนำตัวเครื่องไปทำการสแกนกับบัตรพนักงานเพื่อยืนยันตัวบุคลากร จากนั้นไปสแกนจุดตรวจ(Checkpoint) ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เราต้องการตรวจตราความสงบเรียบร้อย โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 80,000 รายการเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อดูรายงานได้
บัตรประจำตัวเป็นบัตรที่ระบุตัวตนของผู้มาทำหน้าที่เดินลาดตระเวน เราสามารถตั้งเป็นชื่อพนักงานหรือ ตั้งเป็นชื่อกะการทำงานก็ได้ เช่น กะกลางวัน กะบ่าย กะกลางคืน
จุดตรวจเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งภายในใช้ระบบ RFID ตัววัสดุเป็นพลาสติคภายในบรรจุวงจรอิเลคทรอนิคส์เก็บความจำไว้ข้างใน สามารถติดตั้งได้ทั้ง In Door และ Outdoor ทนแดดทนฝน มีสีสันและขนาดที่แตกต่างกันไป แล้วแต่จะเลือกใช้ เพียงแค่เรานำจุดตรวจนี้ไปติดตามสถานที่ ๆ ต้องการให้รปภ.เดินตรวจตรา อาทิเช่น กำแพงอาคาร เสาไฟฟ้า ประตู หน้าต่าง แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความร้อนสูงเพราะมีผลต่อตัวอุปกรณ์ได้ หลังจากที่รปภ.ได้สแกนจุดตรวจครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยเราสามารถตรวจสอบได้ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Patrol Management) เพี่อเรียกดูรายงานได้หลายรูปแบบ ที่สำคัญไม่สามารถแก้ไขได้ โปรแกรมใช้งานสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเก็บหลักฐานการทำงานได้ยาวนาน ดูย้อนหลังได้ตลอดเวลา
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียนาฬิกายาม
1. นาฬิกายามอนาล็อค (ใช้กระดาษคาร์บอน)
- ต้องซื้อกระดาษคาร์บอนเปลี่ยนใหม่
- ดูรายงานย้อนหลังลำบากเนื่องจากต้องกลับไปดูที่กระดาษคาร์บอน (ลองนึกภาพดูว่า ถ้าอยากดูย้อนหลัง 1 ปี จะหาลำบากแค่ไหน)
- ตัวอักษรบนกระดาษจาง ไม่ชัดเจน อ่านยาก
- ราคาค่อนข้างสูง และตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ต้องสะพายไหล่
- จุดตรวจที่ใช้เป็นกุญแจไข อาจเกิดการหักคาในตัวเครื่องได้ (มีให้ซ่อมกันบ่อย ๆ)
- ไม่ต้องคอยซื้ออุปกรณ์เพิ่มเหมือนนาฬิกายามรุ่นเก่าที่ต้องใช้กระดาษคาร์บอน
- ดูรายงานย้อนหลังได้ตามต้องการ เพียงแค่กำหนด วัน เดือน ปี ที่ต้องการดู
- ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก เหมาะมือ กันน้ำได้
- สามารถ Save เป็น Exel หรือ Print ออกมาจากโปรแกรมได้เลย
- ราคาสมเหตุสมผล ประหยัดได้เท่าตัวและไม่แพงเหมือนนาฬิกายามอนาล็อค
- จุดตรวจและนาฬิกายามไม่มีการสัมผัสกันโดยตรง เพราะใช้คลื่นความถี่ RFID 125K